โครงการอบรมฟิสิกส์อนุภาคพื้นฐาน (ภูมิภาค) 2562

Asia/Bangkok
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ห้องสัมมนาชั้น 2 อาคาร SCB 2 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Description

ความร่วมมือระหว่างไทยกับเซิร์น (CERN: The European Organization for Nuclear Research) เกิดขึ้นด้วยพระกรุณาธิคุณของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่สนพระทัยในความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีของเซิร์น ในหลายวโรกาสได้ทรงมีพระราชดำริว่า หากนักวิทยาศาสตร์ของไทยได้มีโอกาสทำงานวิจัยร่วมกับเซิร์น จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศไทยเป็นอันมาก เพื่อสนองแนวพระราชดำริดังกล่าว จึงได้เกิดการประสานงานระหว่างทีมผู้บริหารของเซิร์นและสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) ถึงความเป็นไปได้ในการร่วมมือทางวิชาการในแขนงที่เกี่ยวข้อง กระทั่งในการเสด็จพระราชดำเนินเยือนเซิร์น ครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2552 จึงได้มีการลงนามในเอกสารแสดงเจตจำนงความร่วมมือกัน (Expression of Interest in The Participation of Physicists from Universities and Research Institutes from Thailand in the CMS Experiment at the CERN LHC Accelerator (EOI) ระหว่างสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) และกลุ่มการทดลอง CMS ที่ตั้งอยู่ ณ LHC ของเซิร์น โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระกรุณาธิคุณเสด็จประทับเป็นองค์ประธานสักขีพยานในการลงนามครั้งนั้นด้วย 

ภายหลังจากการลงนาม สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอนฯ ได้ดำเนินการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการความร่วมมือระหว่างไทยกับเซิร์น ซึ่งเริ่มดำเนินการโดยการจัดทำโครงการคัดเลือกนักศึกษาและครูสอนฟิสิกส์ เพื่อเข้าร่วมโปรแกรมภาคฤดูร้อนเซิร์น และเพื่อให้การดำเนินงานภายใต้ความร่วมมือระหว่างไทยกับเซิร์นเกิดผลสัมฤทธิ์อย่างสูงสุด คณะอนุกรรมการจึงได้ริเริ่มความร่วมมือทางวิชาการ อันจะเป็นประโยชน์ต่อการเรียน การสอน การบริการทางวิชาการ และการวิจัยของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายใต้ 4 โครงการหลัก  อันได้แก่

  • โครงการคัดเลือกนักศึกษาและครูสอนฟิสิกส์ เพื่อเข้าร่วมโปรแกรมภาคฤดูร้อนเซิร์น

  • โครงการ National e-Science Infrastructure Consortium

  • โครงการส่งเสริมการจัดกิจกรรมวิชาการที่เกี่ยวข้องกับเซิร์น

  • โครงการส่งเสริมนักศึกษาปริญญาโท-เอก นักวิจัยไปทำงานวิจัย ณ เซิร์น และพัฒนาให้เกิดการทำวิจัยร่วมกับเซิร์น

โครงการอบรมฟิสิกส์อนุภาคพื้นฐานเป็นส่วนหนึ่งของโครงการส่งเสริมการจัดกิจกรรมวิชาการที่เกี่ยวข้องกับเซิร์น โดยมุ่งเน้นการให้การอบรมความรู้พื้นฐานและการประยุกต์ใช้ความรู้ทางฟิสิกส์อนุภาคแก่นักเรียน นิสิต/นักศึกษา ครู และบุคคลทั่วไป โดยจัดเป็นกิจกรรมประจำทุกปี และมีโรงเรียน/มหาวิทยาลัยต่าง ๆ เวียนกันเป็นเจ้าภาพในการดำเนินกิจกรรม


โครงการอบรมฟิสิกส์อนุภาคพื้นฐาน (ภูมิภาค) ซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 3 - 6 กรกฏาคม พ.ศ. 2562 นี้ เป็นการจัดโครงการอบรมฯ ในส่วนภูมิภาคเป็นครั้งแรกภายใต้โครงการความร่วมมือไทยเซิร์น ภายใต้พระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี โดยมีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกับ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) เป็นเจ้าภาพ เพื่อเผยแพร่ความรู้ฟิสิกส์อนุภาคพลังงานสูงแก่นิสิต นักศึกษา ที่ศึกษาอยู่ในส่วนภูมิภาค (ภาคเหนือ) และผู้สนใจทั่วไป เพื่อใช้ในการศึกษาต่อหรือทำวิจัยต่อไปในระดับสูง รวมถึงกระตุ้นให้นิสิตนักศึกษาและบุคคลทั่วไป เห็นถึงความสำคัญของฟิสิกส์พลังงานสูง ฟิสิกส์ของเครื่องเร่งอนุภาค พลาสมา ฟิวชัน และดาราศาสตร์

รับสมัคร: 1 พฤษภาคม - 15 มิถุนายน พ.ศ. 2562

*** รับจำนวนจำกัดเพียง 50 คน โดยผู้สมัครที่ได้รับการตอบรับให้เข้าร่วมโครงการไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการลงทะเบียนและการเข้าร่วมกิจกรรมในโครงการฯ แต่ต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการเดินทางมาเข้าร่วมอบรม และค่าที่พักเอง ***


 

รายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการ
    • 08:00 08:45
      ลงทะเบียน 45m
    • 08:45 09:15
      พิธีเปิด และแนะนำการอบรม 30m
    • 09:15 09:30
      Group Photo 15m
    • 09:30 10:30
      แนะนำ CERN และเครื่องเร่งอนุภาค LHC (ดร.นรพัทธ์ ศรีมโนภาษ) 1h
      Speaker: Phat Srimanobhas (Chulalongkorn University (TH))
    • 10:30 10:45
      พักรับประทานอาหารว่าง 15m
    • 10:45 12:30
      ฟิสิกส์ของอนุภาคมูลฐานและแบบจำลองมาตรฐานของฟิสิกส์อนุภาค (ดร.ชาคริต พงษ์กิติวณิชกุล) 1h 45m
      Speaker: Dr Chakrit Pongkitivanichkul (Khon Kaen University)
    • 12:30 13:30
      พักรับประทานอาหารกลางวัน 1h
    • 13:30 15:00
      การตรวจวัดอนุภาคมูลฐานที่ LHC และการวิเคราะห์ข้อมูล (ดร.นรพัทธ์ ศรีมโนภาษ) 1h 30m
      Speaker: Phat Srimanobhas (Chulalongkorn University (TH))
    • 15:00 15:15
      พักรับประทานอาหารว่าง 15m
    • 15:15 17:00
      แนะนำโครงการ Thai – CERN/DESY/GSI-FAIR และ เสวนาประสบการณ์การเข้าร่วมโครงการ Thai-CERN Thai-DESY และ Thai-GSI-FAIR (ดร.นรพัทธ์ ศรีมโนภาษ, ผศ.ดร.ชิโนรัตน์ กอบเดช, ดร.ชาคริต พงษ์กิติวณิชกุล, ผศ.ดร.สาคร ริมแจ่ม) 1h 45m
      Speakers: Chakrit Pongkitivanichkul (Khon Kaen University), Chinorat Kobdaj (Suranaree University of Technology (TH)), Phat Srimanobhas (Chulalongkorn University (TH)), Sakhorn Rimjaem, Sakhorn Rimjaem (Chiang Mai University)
    • 09:00 10:30
      ก้าวข้ามแบบจำลองมาตรฐานของฟิสิกส์อนุภาค (ดร.ชาคริต พงษ์กิติวณิชกุล) 1h 30m
      Speaker: Chakrit Pongkitivanichkul (Khon Kaen University)
    • 10:30 10:45
      พักรับประทานอาหารว่าง 15m
    • 10:45 12:00
      จักรวาลวิทยา สสารมืด พลังงานมืด หลุมดำ และรังสีจากนอกโลก (ดร. อุเทน แสวงวิทย์) 1h 15m
    • 12:00 13:00
      พักรับประทานอาหารกลางวัน 1h
    • 13:00 14:00
      เครื่องตรวจวัดอนุภาค (ผศ.ดร.ชิโนรัตน์ กอบเดช) 1h
    • 14:00 15:00
      หลักการทำงานและการสร้างเครื่องตรวจวัดอนุภาค Cloud Chamber แบบ DIY (ผศ.ดร.อุดมรัตน์ ทิพวรรณ) 1h
    • 15:00 15:30
      พักรับประทานอาหารว่างและเดินทางไปยังศูนย์ PET Cyclotron 30m
    • 15:30 17:00
      เยี่ยมชมศูนย์ Cyclotron ของศูนย์ความเป็นเลิศด้าน การแพทย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 1h 30m คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

      คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

    • 18:00 20:00
      ร่วมรับประทานอาหารเย็น 2h Good View Village

      Good View Village

    • 08:00 08:30
      นัดรวมกันที่คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 30m
    • 08:30 09:00
      เดินทางออกจากคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ไปยังสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ 30m
    • 09:00 18:00
      กิจกรรมทัศนศึกษาเยี่ยมชมสถาบันวิจัยดาราศาสตร์และหอดูดาวแห่งชาติ 9h สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ และหอดูดาวแห่งชาติ ดอยอินทนนท์

      สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ และหอดูดาวแห่งชาติ ดอยอินทนนท์

    • 09:00 10:30
      เครื่องเร่งอนุภาคและการประยุกต์ใช้ (ผศ.ดร.สาคร ริมแจ่ม) 1h 30m
    • 10:30 10:45
      พักรับประทานอาหารว่าง 15m
    • 10:45 12:00
      พลาสมาและการประยุกต์ (รศ.ดร.ธีรวรรณ บุญญวรรณ) 1h 15m
    • 12:00 13:00
      พักรับประทานอาหารกลางวัน 1h
    • 13:00 14:30
      ฟิวชัน: แหล่งพลังงานในอนาคต (รศ.ดร.สมศักดิ์ แดงติ๊บ) 1h 30m
    • 14:30 15:00
      พิธีมอบประกาศนียบัตร และ พักรับประทานอาหารว่าง 30m
    • 15:00 17:00
      เยี่ยมชมศูนย์วิจัยฟิสิกส์ของพลาสมาและลำอนุภาค 2h