โครงการอบรมฟิสิกส์อนุภาคพื้นฐาน 2568 (มหาวิทยาลัยนเรศวร)

Asia/Bangkok
วิทยาลัยเพื่อการค้นคว้าระดับรากฐาน มหาวิทยาลัยนเรศวร

วิทยาลัยเพื่อการค้นคว้าระดับรากฐาน มหาวิทยาลัยนเรศวร

Description

✍️ รับสมัครถึง: 7 เมษายน 2568
🚩 ค่ายจัดระหว่างวันที่ 3-5 พฤษภาคม 2568
ค่ายฟรี! ไม่มีค่าใช้จ่าย
 
เกี่ยวกับโครงการ
ประเทศไทยมีความร่วมมือทางวิชาการกับเซิร์น (The European Organization for Nuclear Research: CERN) มาอย่างต่อเนื่องและยาวนาน ด้วยพระกรุณาธิคุณของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้ากรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ทรงมีพระราชดําริและทรงเล็งเห็นว่า หากนักวิทยาศาสตร์ไทยได้มีโอกาสทํางานวิจัยร่วมกับเซิร์น ซึ่งเป็นองค์กรวิจัยด้านฟิสิกส์อนุภาคพลังงานสูงชั้นนําระดับโลก ก็จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศไทยเป็นอันมาก เพื่อสนองแนวพระราชดำริดังกล่าว จึงได้เกิดการประสานงานระหว่างทีมผู้บริหารของเซิร์นและสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) ถึงความเป็นไปได้ในการร่วมมือทางวิชาการในแขนงที่เกี่ยวข้อง กระทั่งในการเสด็จพระราชดำเนินเยือนเซิร์น ครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2552 จึงได้มีการลงนามในเอกสารแสดงเจตจำนงความร่วมมือกัน (Expression of Interest in The Participation of Physicists from Universities and Research Institutes from Thailand in the CMS Experiment at the CERN LHC Accelerator (EOI) ระหว่างสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) และกลุ่มการทดลอง (Compact Muon Solenoid: CMS) ของเซิร์น

 


โครงการอบรมฟิสิกส์อนุภาคพื้นฐาน เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมภายใต้โครงการความร่วมมือไทยเซิร์น โครงการอบรมจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีเพื่อเผยแพร่ความรู้ทางฟิสิกส์อนุภาคพื้นฐานและการประยุกต์ใช้ความรู้ทางฟิสิกส์ให้แก่นักเรียนระดับมัธยมปลาย และนิสิต/นักศึกษา โดยมีโรงเรียน/มหาวิทยาลัยต่าง ๆ เวียนกันเป็นเจ้าภาพในการดำเนินกิจกรรม

วิทยาลัยเพื่อการค้นคว้าระดับรากฐาน มหาวิทยาลัยนเรศวร ร่วมกับโครงการความร่วมมือไทยเซิร์นโดยสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) เป็นหน่วยงานผู้รับผิดชอบการดำเนินงานจึงได้กำหนดจัดโครงการอบรมฟิสิกส์อนุภาคพื้นฐานประจำปี พ.ศ. 2568 ขึ้น ในระหว่างวันที่ 3 – 5 พฤษภาคม 2568 ณ วิทยาลัยเพื่อการค้นคว้าระดับรากฐาน มหาวิทยาลัยนเรศวร เพื่อเผยแพร่ความรู้ทางฟิสิกส์อนุภาคขั้นพื้นฐานให้แก่นักเรียนระดับมัธยมปลาย นิสิต นักศึกษา และผู้สนใจทั่วไป เพื่อใช้ในการศึกษาต่อหรือทำวิจัยต่อไปในระดับสูง รวมถึงกระตุ้นให้นักเรียน นิสิตนักศึกษาและบุคคลทั่วไป เห็นถึงความสำคัญของฟิสิกส์พลังงานสูง 

 

 

***รับจำนวนจำกัดเพียง 80 คน โดยผู้สมัครที่ได้รับการตอบรับให้เข้าร่วมโครงการไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการลงทะเบียนและการเข้าร่วมกิจกรรมในโครงการฯ

***ผู้ที่ได้รับการการตอบรับให้เข้าร่วมต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการเดินทางเข้าร่วมด้วยตัวเอง

***ทางโครงการมีที่พักฟรีสำหรับผู้เข้าร่วม จำกัดเพียง 40 คน ที่หอพักนิสิต มหาวิทยาลัยนเรศวร โดยผู้เข้าร่วมต้องพักร่วมกับผู้เข้าร่วมท่านอื่น (4 คน ต่อ 1 ห้อง แยกชายหญิง)

***หมดเขตรับสมัคร วันที่ 7 เมษายน 2568 (ทางโครงการขอสงวนสิทธิ์ในการปิดรับก่อนกำหนด หากมีผู้สมัครเกินจำนวนมาก) และจะประกาศผลการคัดเลือกภายในวันที่ 10 เมษายน 2568



 

Participants
Surveys
แบบประเมินความพึงพอใจ: โครงการอบรมฟิสิกส์อนุภาคพื้นฐาน 2568 (มหาวิทยาลัยนเรศวร)
    • 08:30 09:30
      ลงทะเบียน 1h SC1-212 (คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร)

      SC1-212

      คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

    • 09:30 09:45
      พิธีเปิดและแนะนำโครงการอบรม 15m SC1-212 (คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร)

      SC1-212

      คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

    • 09:45 10:00
      พักรับประทานอาหารว่าง 15m
    • 10:00 11:00
      Elementary particles (อนุภาคมูลฐาน) 1h
      Speaker: Chayanit Asawatangtrakuldee (Chulalongkorn University (TH))
    • 11:00 12:00
      Introduction to Particle Accelerator (เครื่องเร่งอนุภาคเบื้องต้น) 1h SC1-212 (คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร)

      SC1-212

      คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

      Speaker: Dr Thakonwat Chanwattana (Synchrotron Light Research Institute (SLRI))
    • 12:00 13:00
      รับประทานอาหารเที่ยง (โครงการรับผิดชอบ) 1h
    • 13:00 14:00
      Applications of Synchrotron Radiation (การประยุกต์ใช้งานของแสงซินโครตรอน) 1h
      Speaker: Dr Thakonwat Chanwattana (Synchrotron Light Research Institute (SLRI))
    • 14:00 15:00
      CERN: More Than a Particle Collider 1h SC1-212 (คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร)

      SC1-212

      คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

      Uncovering the Hidden Scientific Universe at CERN

      Speaker: Phat Srimanobhas (Chulalongkorn University (TH))
    • 15:00 15:15
      พักรับประทานอาหารว่าง 15m
    • 15:15 16:15
      เสวนาแนะนำโครงการความร่วมมือ Thai-CERN/DESY/GSI-FAIR/IceCube 1h SC1-212 (คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร)

      SC1-212

      คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

      Speakers: Chayanit Asawatangtrakuldee (Chulalongkorn University (TH)), Ekapong Hirunsirisawat, Phat Srimanobhas (Chulalongkorn University (TH)), Mr Yanapat Limrachadawong, Ms พิชญาภา สมยาโรน
    • 16:15 17:00
      ลงทะเบียนเข้าที่พัก 45m หอพักนิสิต มหาวิทยาลัยนเรศวร

      หอพักนิสิต มหาวิทยาลัยนเรศวร

    • 17:00 18:00
      รับประทานอาหารเย็น (โครงการรับผิดชอบ) 1h SC1-212 (คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร)

      SC1-212

      คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

    • 18:00 19:30
      ฟิสิกส์พื้นฐานและความเข้าใจในภาพยนต์วิทยาศาสตร์ 1h 30m SC1-212 (คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร)

      SC1-212

      คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

      Speaker: Sikarin Yoo-Kong (Naresuan University)
    • 09:00 10:00
      การตรวจวัดอนุภาคที่ LHC และการวิเคราะห์ข้อมูล 1h SC1-212 (คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร)

      SC1-212

      คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

      Speaker: Chayanit Asawatangtrakuldee (Chulalongkorn University (TH))
    • 10:00 11:00
      Cosmic Ray and Astroparticle physics 1h SC1-212 (คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร)

      SC1-212

      คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

      Speaker: Ekapong Hirunsirisawat
    • 11:00 12:00
      รับประทานอาหารเที่ยง (โครงการรับผิดชอบ) 1h SC1-212 (คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร)

      SC1-212

      คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

    • 12:00 17:00
      กิจกรรม: Cloud chamber workshop / การสร้าง Cloud chamber เพื่อตรวจวัดอนุภาคจากนอกโลก (พักรับประทานอาหารว่างระหว่างกิจกรรม) SC1-212 (คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร)

      SC1-212

      คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

      Convener: Dr Pitayuth Wongjun (The Institute for Fundamental Study, Naresuan University)
    • 12:00 17:00
      กิจกรรม: การบรรยายเชิงปฏิบัติการ และทำกิจกรรมสร้างกล้องดูดาวอย่างง่าย (พักรับประทานอาหารว่างระหว่างกิจกรรม)
      Convener: Pongwit Srisangyingcharoen (IF)
    • 12:00 17:00
      กิจกรรม: รับฟังการบรรยายเกี่ยวกับวิทยาลัยเพื่อการค้นคว้าระดับรากฐานพร้อมเยี่ยมชมมหาวิทยาลัยนเรศวร (พักรับประทานอาหารว่างระหว่างกิจกรรม)
      Convener: Ms Parintira Tanawong
    • 17:00 18:00
      รับประทานอาหารเย็น (โครงการรับผิดชอบ) 1h โรงอาหารหอพักนิสิต มหาวิทยาลัยนเรศวร

      โรงอาหารหอพักนิสิต มหาวิทยาลัยนเรศวร

    • 18:00 19:00
      พักผ่อนตามอัธยาศัย (หอพักนิสิต มหาวิทยาลัยนเรศวร) 1h
    • 19:00 20:00
      กิจกรรมดูดาว จากอนุภาคพื้นฐานสู่ดวงดาว 1h ลาน NU Playground

      ลาน NU Playground

      ลานสนามหญ้าข้างหอพักนิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวร
      Speakers: Mr Keerati Komkongyou, Parintira Tanawong
    • 08:00 08:30
      check out - เอาของออกจากที่พัก 30m
    • 09:00 10:00
      Quantum physics and particles (การพัฒนาความรู้ความเข้าใจอนุภาคมูลฐาน) 1h SC1-212 (คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร)

      SC1-212

      คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

      Speaker: Ninnat Dangniam
    • 10:00 11:00
      หนทางสู่ฟิสิกส์มูลฐาน (Road to the fundamentals) 1h SC1-212 (คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร)

      SC1-212

      คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

    • 11:00 12:00
      Unsolved problems in physics (ปัญหาปลายเปิดในฟิสิกส์) 1h SC1-212 (คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร)

      SC1-212

      คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

      Speaker: Sikarin Yoo-Kong (Naresuan University)
    • 12:00 12:15
      พิธีปิด 15m
    • 12:15 13:00
      รับประทานอาหารเที่ยง (โครงการรับผิดชอบ) 45m SC1-212 (คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร)

      SC1-212

      คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร